Sunday, September 9, 2018

มาดูการสร้างข้อกล่าวหาคนบริสุทธิ์ ของเผด็จการ เพื่อกลบกระแสการโกงก่อสร้าง อุทยานราชภัฎ ปี 2558


ข้อกล่าวหาที่เป็นเท็จ ที่นำไปสู่การออกหมายจับ แม้กระทั่งคนที่ติดคุกอยู่ในเรือนจำ

ประมวลเหตุการณ์คดีผู้ต้องหาวางแผนป่วนกิจกรรม Bike for Dad





ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ติดตามคดีผู้ต้องหาวางแผนป่วนกิจกรรม Bike for Dad จากกลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชน (กนส.) ซึ่งเป็นทนายความในคดีดังกล่าว พบว่าผู้ต้องหาบางรายร้องเรียนว่าถูกทรมานขณะสอบสวน และถูกบังคับให้รับสารภาพ ทั้งยังถูกปิดกั้นสิทธิในการเข้าถึงทนายความ ไปจนถึงมีการละเมิดสิทธิเสรีภาพของทนายความ โดยกักตัวทนายความไว้ภายในเรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรีซึ่งตั้งอยู่ภายใน มทบ.11 ที่ประชาชนทั่วไปไม่สามารถตรวจสอบได้

ภาพรวมสถานการณ์ในคดีนี้นั้นสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี การละเมิดสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งรัฐมีหน้าที่ไม่ละเมิดและต้องประกันสิทธิเสรีภาพดังกล่าว รวมถึงมีหน้าที่ในการสอบสวนโดยพลันเมื่อได้รับข้อร้องเรียน  ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเห็นว่าสื่อมวลชน และองค์กรระหว่างประเทศควรติดตามคดีดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

สรุปข้อมูล ณ วันที่ 3 ธ.ค. 58 คดีนี้มีการออกหมายจับผู้ต้องหาทั้งหมด 9 ราย ในข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์, นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยมีพฤติการณ์ในการวางแผนสร้างสถานการณ์ปั่นป่วนในหลายพื้นที่ และเตรียมประทุษร้ายบุคคลสำคัญทางการเมือง 2 คนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยผู้ต้องหา 5 ราย ถูกจับและควบคุมตัวในเรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรีแล้ว อีก 1 ราย อยู่ในเรือนจำจังหวัดขอนแก่นก่อนหน้าการออกหมายจับ ขณะที่อีก 3 รายยังหลบหนี อย่างไรก็ตามผู้ต้องหา  1 ใน 5 ราย ที่ถูกคุมขังในเรือนจำชั่วคราวนี้ เจ้าหน้าที่ได้ปล่อยกลับบ้านแล้ว และจับฝาแฝดผู้ต้องหาดังกล่าวมาแทน (คาดว่าเป็นการจับผิดตัว) โดยยังไม่ปรากฏว่าผู้ที่ถูกจับกุมตัวมาใหม่นั้นถูกคุมขังอยู่ที่ใด

ลำดับเหตุการณ์เกี่ยวกับคดี

  • 21 พ.ย. 58 ประมาณ 00 น. เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบซึ่งส่วนหนึ่งเป็นทหารจาก กกล.รส.จว.ขอนแก่น ประมาณ 10 นาย นั่งรถตู้ติดฟิล์มกรองแสงเข้าไปที่บ้านพักของ จ.ส.ต.ประธิน จันทร์เกศ หนึ่งในจำเลยคดีขอนแก่นโมเดล และพูดคุยอยู่เป็นเวลานาน ก่อนควบคุมตัว จ.ส.ต.ประธิน ขึ้นรถออกไป โดยแจ้งว่าจะพาไปค่ายศรีพัชรินทร (มทบ.23) ใช้เวลาไม่นาน แล้วจะพากลับมาส่ง

  • 24 พ.ย. 58 หน่วยงานความมั่นคงรายงานว่า อดีต ตชด. (จ.ส.ต.ประธิน) ที่ถูกควบคุมตัวพร้อมพยานหลักฐานการสนทนาทางไลน์และสมุดบันทึก ยอมรับว่า เตรียมการสร้างสถานการณ์ปั่นป่วนในหลายพื้นที่ และเตรียมประทุษร้ายบุคคลสำคัญทางการเมือง 2 คน จึงมอบหมายให้ พล.ต.วิจารณ์ จดแตง หัวหน้าฝ่ายกฎหมายของ คสช. เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปราม ให้ดำเนินคดีกับ จ.ส.ต.ประธิน จันทร์เกศ อายุ 60 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ จ.ขอนแก่น, นายพิษณุ พรหมสร อายุ 58 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ จ.เชียงใหม่ และนายณัฐพล ณ.วรรณ์เล อายุ 26 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ จ.ขอนแก่น ในคดีความผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 จากนั้น พนักงานสอบสวน กองบังคับการกองปราบปราม ได้ยื่นคำร้องต่อศาลทหารกรุงเทพ เพื่อขอออกหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 3 คนดังกล่าว

  • 25 พ.ย. 58 พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. ออกคำสั่ง ตร. ที่ 682/2558 แต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน ที่มี พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. เป็นหัวหน้า ร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของทหาร สืบสวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานจนเป็นที่แน่ชัดและเชื่อได้ว่า มีกลุ่มบุคคลร่วมกระทำความผิดรวม 9 คน จึงได้ขออนุมัติหมายจับจากศาลทหารกรุงเทพ ในข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ

  • 26 พ.ย. 58 เจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวผู้ต้องหา 2 ราย คือ จ.ส.ต.ประธิน จันทร์เกศ และนายณัฐพล ณ วรรณ์เล มาแถลงข่าวการจับกุม พร้อมระบุว่าทั้ง 2 คน รวมทั้งพวกที่ถูกออกหมายจับและอยู่ระหว่างติดตามจับกุมตัวอีก 7 คน เป็นขบวนการที่เตรียมก่อเหตุป่วนงานสำคัญในกรุงเทพ และมีความต้องการจะลอบประทุษร้ายบุคคลสำคัญในรัฐบาล 2 คน ก่อนนำตัวผู้ต้องหาทั้งสองไปฝากขังที่ศาลทหาร และควบคุมตัวที่เรือนจำชั่วคราวใน มทบ.11 ทั้งนี้ ก่อนหน้าการแถลงข่าว เจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวทั้งคู่เพื่อสอบสวนในค่ายทหารตั้งแต่วันที่ 21 และ 23 พ.ย.58 ตามลำดับ

  • 27 พ.ย. 58 เจ้าหน้าที่นำตัวนายวัลลภ บุญจันทร์ และนายพาหิรัณ กองคำ มาฝากขังที่ศาลทหารกรุงเทพ โดยเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวมาจากบ้านพักที่จังหวัดขอนแก่น และบึงกาฬตามลำดับ ก่อนนำตัวขึ้นรถมากรุงเทพฯ จากนั้น เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้งสองไปขังไว้ที่เรือนจำชั่วคราวฯ

  • 28 พ.ย.58 เบญจรัตน์ มีเทียน ทนายความของผู้ต้องหาในคดีนี้ให้สัมภาษณ์ยืนยันว่า ปัจจุบันนายธนกฤต ทองเงินเพิ่ม ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำจังหวัดขอนแก่น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีส่วนเกี่ยวพันกับข้อกล่าวหาในคดีร้ายแรง

  • 29 พ.ย.58 นายฉัตรชัย ศรีวงษา ถูกจับกุมได้เป็นรายที่ห้า โดยถูกนำตัวจากจังหวัดขอนแก่นมาควบคุมตัวที่กองปราบปราม

  • 30 พ.ย.58 นายฉัตรชัย ศรีวงษา ถูกนำตัวมาฝากขังครั้งที่ 1 ต่อศาลทหารเป็นเวลา 12 วันแล้ว ส่วนผู้ต้องหาที่ยังหลบหนีมี นายพิษณุ พรหมสร นายมีชัย ม่วงมนตรี นายวีรชัย ชาบุญมี

  • 2 ธ.ค.58 เจ้าหน้าที่จับกุมตัวนายฉัตรชนก ศรีวงษา ฝาแฝดของนายฉัตรชัย ศรีวงษา ที่จังหวัดขอนแก่น ต่อมาญาติแจ้งทนายความว่า เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวนายฉัตรชัยกลับมาส่งที่บ้านในจังหวัดขอนแก่นแล้ว แต่ยังไม่ทราบว่านายฉัตรชนกถูกควบคุมตัวอยู่ที่ใด


ข้อเท็จจริงทนายความเบญจรัตน์ มีเทียน

การแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการออกหมายจับผู้ต้องขัง

  • 29 พ.ย.58 ทนายความเบญจรัตน์ มีเทียน แจ้งความต่อพนักงานสอบสวน กองกับการ 3 กองปราบปราม ให้ดำเนินคดีกับพล.ต.วิจารณ์ จดแตง ในฐานะหัวหน้าส่วนปฏิบัติการ คณะทำงานกฎหมาย คสช. พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานหมิ่นเบื้องสูง พร้อมคณะ โดยกล่าวหาว่า กระทำผิดละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และแจ้งความเท็จ จากกรณีที่มีการแถลงจับผู้ต้องหาเครือข่ายขอนแก่นโมเดล ซึ่งมีรายชื่อนายธนกฤต ทองเงินเพิ่ม เป็น 1 ในผู้ต้องหา ซึ่งข้อเท็จจริงคือ นายธนกฤต ยังอยู่ในเรือนจำขอนแก่นจากคดีอื่น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมากระทำผิด ตามที่มีการแถลงข่าว

  • หลังจากเข้าแจ้งความ ช่วงค่ำ ตำรวจกองปราบได้โทรศัพท์หาทนายความเบญจรัตน์ให้เข้าไปแก้ไขเอกสารและให้การเพิ่มเติมที่กองปราบ แต่ทนายความเบญจรัตน์ปฏิเสธ โดยบอกว่าจะเข้าไปดำเนินการเมื่อมีเวลาว่าง เจ้าหน้าที่โทรมาอีกเกือบ 10 ครั้ง บอกว่าจะมาพบที่บ้านเพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าว แต่ทนายความเบญจรัตน์ก็ปฏิเสธไปอีก


การละเมิดสิทธิในการเข้าถึงทนายความ การคุกคาม และการจำกัดเสรีภาพทนายความ

  • 30 พ.ย.58 ช่วงเช้าทนายความเบญจรัตน์เข้าไปพบผู้ต้องหาในคดีนี้ ที่เรือนจำชั่วคราวฯ เพื่อสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น โดยผู้ต้องหาที่แต่งตั้งให้ทนายความเบญจรัตน์เป็นทนายความมี 4 คน คือ ประธิน จันทร์เกศ, พาหิรัณ กองคำ, วัลลภ บุญจันทร์ และฉัตรชัย ศรีวงษา เจ้าหน้าที่อนุญาตให้เข้าเยี่ยม แต่ไม่ให้เอาโทรศัพท์เข้าไปด้วย อย่างไรก็ตาม มีผู้ต้องหาเพียง 3 คน ยกเว้นประธินที่ออกมาพบทนายความเบญจรัตน์ ทนายความเบญจรัตน์สอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นผู้ต้องหาทั้งสาม โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารนั่งฟังอยู่ด้วยตลอดเวลา

  • หลังจากผู้ต้องหาทั้งสามกลับเข้าที่คุมขัง ทหารที่เฝ้าอยู่ซึ่งมียศร้อยเอก และลูกน้องอีก 2 คน ได้แจ้งให้ทนายความเบญจรัตน์รอประธินออกมา ทนายความเบญจรัตน์นั่งรออยู่นานจนถึงประมาณ 00 น. จึงบอกทหารว่า จะออกไปศาล เนื่องจากมีนัดที่ศาลเวลา 13.30 น. แต่ทหารได้ล็อคประตูห้อง และบอกให้ทนายความเบญจรัตน์อยู่พบนายก่อน ทนายความเบญจรัตน์รอถึงประมาณ 12.30 น. จึงได้เจรจาขอไปทำหน้าที่ก่อน แต่ทหารก็ยืนกรานว่า ไปไม่ได้ นายสั่งไม่ให้ไปไหน จนกระทั่ง ตำรวจจากกองปราบ 2 คน (หญิง 1 คน ชาย 1 คน) มาตาม ทนายความเบญจรัตน์ให้เข้าไปยังกองปราบได้มาคุยกับทหาร ทหารจึงได้ให้ทนายความเบญจรัตน์ออกมา โดยทนายความเบญจรัตน์ได้ขอไปศาลก่อน ตำรวจหญิงจึงนั่งรถมากับทนายความเบญจรัตน์ด้วย โดยตำรวจอีกคนขับรถตามหลังมา ตำรวจหญิงได้ตามทนายความเบญจรัตน์เข้าไปที่ศาลด้วย โดยนั่งเฝ้าอยู่หน้าห้องพิจารณา

  • เมื่อทนายความเบญจรัตน์ออกจากศาลประมาณ 00 น. ตำรวจได้เอาบันทึกมาให้เซ็น ซึ่งระบุว่า ทนายความเบญจรัตน์เดินทางไปกองปราบด้วยความสมัครใจ ทนายความเบญจรัตน์ให้ข้อมูลว่า อยู่ที่กองปราบจนถึงประมาณ 21.00 น. โดยเรื่องที่ให้ปากคำและแก้ไขเอกสารก็ไม่ได้มีอะไรมาก ทนายความเบญจรัตน์จึงถามไปตรงๆ ว่า ต้องการอะไรกันแน่ พนักงานสอบสวน เจ้าของสำนวนจึงบอกว่า นายอยากให้ถอนคดี แต่ทนายความเบญจรัตน์ปฏิเสธไปว่า ถอนไม่ได้

  • 2 ธ.ค.58 ทนายความเบญจรัตน์ให้ข้อมูลว่า ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดขอนแก่นได้แจ้งมาว่า ธนกฤต ทองเงินเพิ่ม ได้เซ็นเอกสารถอนแจ้งความเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กรณีที่ออกหมายจับเขาทั้งที่เขาอยู่ในเรือนจำ ไม่มีโอกาสกระทำความผิดตามที่กล่าวหา ทั้งนี้ เมื่อทนายความเข้าพบธนกฤต เขาได้ให้ข้อมูลว่า เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 58 เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจจำนวนหนึ่งได้เข้าไปพบเขาที่เรือนจำ และให้เขาเซ็นถอนแจ้งความ โดยเสนอที่จะถอนหมายจับเขาเป็นการแลกเปลี่ยน


ข้อเท็จจริงจากทนายความวิญญัติ ชาติมนตรี

การปฏิเสธสิทธิในการเข้าถึงทนายความ

  • 26 พ.ย.58 หลังจากทราบว่าจ่าสิบตำรวจ ประธิน จันทร์เกศ และนายณัฐพล ณ วรรณ์เล ถูกนำตัวไปฝากขังยังศาลทหารกรุงเทพ ทนายความวิญญัติจากกลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ตามไปเพื่อร่วมกระบวนการคัดค้านการฝากขัง แต่เจ้าหน้าที่ศาลปฏิเสธไม่ให้ทนายความเข้าถึงผู้ต้องหาได้ แม้ผู้ต้องหาจะยืนยันว่าทนายความวิญญัติเป็นทนายความของตนเอง โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าศาลยังไม่ได้แต่งเป็นทนายความในคดี จนกระทั่งเมื่อศาลไต่สวนการฝากขัง ทนายความขออนุญาตศาลคุยกับผู้ต้องหาก่อนการไต่สวน แต่ศาลไม่อนุญาต ทำให้ทนายความแถลงคัดค้านได้เพียงข้อกฎหมาย เนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตให้คุยกับผู้ต้องหา หลังจากศาลออกจากห้องพิจารณาไปแล้ว ทนายความจึงได้คุยกับผู้ต้องหาเพียงไม่กี่นาที ก่อนที่ผู้ต้องหาจะถูกนำตัวไปยังเรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี

  • 27 พ.ย.58 ทนายความวิญญัติเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังสองราย (การเข้าเยี่ยมจำเป็นต้องเป็นทนายความที่ได้ยื่นใบแต่งทนายความในคดีต่อศาลทหารแล้วเท่านั้น) ได้พูดคุยเป็นระยะเวลากว่าสองชั่วโมง โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารร่วมรับฟังการพูดคุยอยู่ตลอดระยะเวลา ทั้งนี้ อาคารที่จัดให้พบแยกต่างหากจากอาคารที่ควบคุมตัว มีข้อสังเกตว่าผู้ต้องขังถูกใส่กุญแจข้อมือและเท้า และถูกปิดตาในระหว่างทางที่ถูกนำตัวมาจากสถานที่คุมขัง โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวมาโดยรถยนต์

  • 30 พ.ย. 58 ทนายความวิญญัติมีนัดหมายกับทนายความเบญจรัตน์ในการเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังภายในเรือนจำมทบ.11 โดยทนายความเบญจรัตน์ได้เข้าไปในเรือนจำก่อน ทนายความวิญญัติตามเข้าไปเวลาประมาณ 00 น. โดยที่ไม่สามารถติดต่อทนายความเบญจรัตน์ทางโทรศัพท์ได้ เจ้าหน้าที่แจ้งว่าทนายความเบญจรัตน์พบลูกความอยู่อีกห้องหนึ่ง ทนายความวิญญัติจึงขอเข้าพบลูกความด้วยเช่นกัน แต่ได้รับการปฏิเสธว่าต้องรอก่อน ทนายความวิญญัติรอจนกระทั่งถึงเวลาเที่ยงก็ไม่ได้พบผู้ต้องหา ระหว่างเวลาดังกล่าว ทนายความวิญญัติได้ขอออกไปนอกห้องและขอใช้โทรศัพท์แต่ถูกปฏิเสธ โดยทนายความวิญญัติสังเกตว่ามีเจ้าหน้าที่ทหารยืนเฝ้าหน้าห้องอยู่สองคน

  • ในช่วงบ่ายทนายความวิญญัติจึงได้พบผู้ต้องหาทั้งสองราย แต่ได้พบเพียงประมาณห้านาที และมีเจ้าหน้าที่ทหารอยู่ระหว่างการพูดคุยตลอด หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำตัวผู้ต้องหากลับไป และหัวหน้าเรือนจำซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้เข้ามาคุย โดยขอให้ทนายความวิญญัติกลับไปก่อน เนื่องจากสถานการณ์ไม่แน่นอนและฝ่ายความมั่นคงไม่อนุญาตให้พูดคุยต่อ


ข้อร้องเรียนว่ามีการทรมาน

  • ทั้งนี้ ทนายความวิญญัติได้ให้ข้อมูลว่า นายประธินได้ถูกควบคุมตัวในวันที่ 21 พ.ย.58 โดยถูกนำตัวไปคุมขังในค่ายทหารแห่งหนึ่ง (คาดว่ายังเป็นค่ายทหารในจังหวัดขอนแก่น สังเกตจากระยะเวลาในการเดินทาง) เป็นเวลาประมาณ 2 วัน ก่อนถูกนำตัวมายังค่ายทหารในกรุงเทพมหานคร (นายประธินคาดว่าเป็นมทบ.11 แต่ไม่สามารถยืนยันได้ เนื่องจากถูกปิดตาในระหว่างการย้ายที่คุมขัง จะเปิดตาเมื่อทานข้าวและอยู่ในที่คุมขังแล้วเท่านั้น) หลังจากมาถึงค่ายทหารในกรุงเทพมหานคร นายประธินได้ถูกสอบสวนโดยเจ้าหน้าที่ทหารนอกเครื่องแบบหลายชุด โดยมีเจ้าหน้าที่หนึ่งชุดทำการสอบสวนโดยข่มขู่ให้รับสารภาพ เมื่อนายประธินปฏิเสธว่าตนไม่ได้กระทำความผิดจะถูกเตะที่ขาด้านขวา และถูกตบที่ใบหน้า ในระหว่างการสอบสวนเจ้าหน้าที่ไม่ได้ปิดบังใบหน้า แต่นายประธินก็ไม่รู้จักเจ้าหน้าที่และไม่สามารถจดจำใบหน้าได้ที่มา : https://tlhr2014.wordpress.com/2015/12/03/bike-for-dad-112-military-prison/


No comments:

Post a Comment