Tuesday, September 25, 2018

คนไทยโปรดทราบ !

คนไทยโปรดทราบ !

เรื่อง การถอดรหัส ตัวหนังสือไทย โดยการใช้ โทรศัพท์มือถือ.

ขอเรียน ว่า  โดยแท้จริงแล้ว จากกริยาอาการ ที่คนไทยเราแสดงออกมาในเรื่องต่าง ๆ นั้น อาจกล่าวได้ว่า :-

  • การเขียนหนังสือ คือ การเข้ารหัส ไว้ด้วยตัวหนังสือไทย.

  • การอ่านหนังสือ คือ การถอดรหัส ที่ได้เข้ารหัสไว้ เพื่อ ต้องการทราบว่า ข้อความที่ตั้งใจเขียนไว้ทั้งหมด มีว่าอย่างไร. ซึ่ง การถอดระหัส

  • ราชบัณฑิตยสถาน ให้เรียกเป็น ภาษาราชการ ว่า “ตีความ” อันเป็นเหตุให้ต่างตนต่างตีความกันเอง ตามความคิด และ ความเข้าใจ ของ ตนเอง เพราะไม่เข้าใจว่า ตีความ คืออะไร แต่เมื่อใช้คำว่า “ถอดรหัส” จะต้องปฏิบัติเหมือนกันหมด โดย ต้องป้อนรหัส ด้วยตัวหนังสือ ที่เป็น รหัส ลงไป ตรงช่องที่กำหนดไว้ จึงจะได้ ข้อความที่ตั้งใจเขียนไว้ทั้งหมด/

  • การถอดรหัส (ตีความ) จึงต้อง มีการป้อนรหัส ตาม ตัวหนังสือ ที่ เข้ารหัสไว้


ดังนั้น การตีความกฎหมาย ที่รัฐสภา ตราไว้ หรือ เข้ารหัสไว้ จึงหมายถึง การถอดรหัส ตัวหนังสือ ที่เป็น ข้อความ ใน ตัวบทกฎหมาย นั่นเอง.

ขอเรียนว่า กระบวนการทั้งหมดนี้ ผู้เขียน ได้พบในการที่ได้ปฏิบัติในการใช้ โทรศัพท์มือถือ  โดยที่เมื่อ ผู้เขียน เริ่มกดปุ่ม คีย์บอร์ด เพื่อเปิดเครื่อง  ที่หน้าจอจะปรากฎ ข้อความ ว่า “ป้อนรหัส”  และเมื่อ ผู้เขียน ป้อนตัวหนังสือ หรือ ตัวเลข ที่เราตั้งเป็น รหัส ไว้ เครื่องโทรศัพท์ จึงจะทำงานตามที่เราต้องการ /

สำหรับการใช้ โปรแกรม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ในโทรศัพท์มือถือ หรือ ใน โน้ตบุ๊ค เมื่อเรียก โปรแกรม พจนานุกรมฯ ที่ได้ดาวน์โหลดไว้ ขึ้นมาแล้ว เมื่อต้องการถอดรหัส ของคำว่า “กฎหมาย” เราจะต้อง ป้อนตัวอักษร คำว่า “กฎหมาย” ลงไป ตรงช่องที่กำหนดไว้ จึงปรากฏ ข้อความ ที่เป็นความหมายของคำว่า กฎหมาย เป็นต้น.

 

หมายเหตุ:
“รหัส” น. ข้อความที่เปลี่ยน ตัวอักษรอื่นแทน อักษร ที่ต้องการบจะใช้ (จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)

มีข้อแนะนำ ว่า  ต่อไปนี้ เมื่อเห็นคำว่า “ตีความ”  ให้นึกถึง คำว่า “ถอดรหัส” และ เมื่อเห็นคำว่า  “พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน” ให้คิดว่า นี่คือ “คู่มือถอดรหัสตัวหนังสือไทย” จะทำให้การอ่านกฎหมายไทย และ การอ่านหนังสือราชการ ไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป.

แต่ขอเรียนว่า การตีความกฎหมาย เป็นการถอดรหัส ของ ตัวหนังสือ ที่เป็น ถ้อยคำหลายๆคำ แต่ละคำ ที่นำมาเรียบเรียงกันตามกลักวิชาไวยากรณ์ไทย ไว้ เป็น ข้อความ ซึ่งมีทั้ง สั้นๆ และ ยาว การถอดรหัส จึงต้องมีการถอดรหัส ถ้อยคำแต่ละคำ แล้วนำมารวมกันทั้งข้อความ หรือ ประโยค แล้วจึง ถอดรหัส ทั้งข้อความ อีกชั้นหนึ่ง โดยคำนึงถึง หลักวิชาไวยากรณ์ไทยด้วย จึงจะทราบว่า ข้อความทั้งข้อความ มีว่าอย่างไร

(มานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ)

No comments:

Post a Comment